กรรมวิธีการผลิตเมล็ดกาแฟ
กาแฟเป็นไม้พุ่มยืนต้น
ขนาดปานกลางสูง ประมาณ 3-4 เมตร
ใบสีเขียวแตกออกจากข้อเป็นคู่ๆ ดอกออกตามข้อของกิ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ กลิ่นหอม
ต้นกาแฟในประเทศไทยเริ่มออกดอกในเดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์
ระยะเวลาตั้งแต่การออกดอกถึงการเก็บเกี่ยวใช้เวลาประมาณ 8 - 12 เดือน หลังจากปลูกกาแฟได้ 2-3 ปี กาแฟจะเริ่มออกดอกและติดผล ผลของกาแฟเรียกว่า Coffee
Cherry มีลักษณะค่อนข้างกลม ขณะที่ผลยังอ่อนมีสีเขียว
และเมื่อผลแก่จัดจะมีสีแดงเรียกว่า เชอรี
ผู้ผลิตจะเก็บผลเชอรี่ที่แก่จัดแล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการลอกเปลือก
เพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟ ซึ่งมี 2 กรรมวิธี คือ
2.1 วิธีการทำสารกาแฟแบบแห้ง (dry processing) วิธีนี้นำผลกาแฟสุกที่เก็บมาทำการตากแดดทิ้งผลให้แห้งสนิท
จึงทำการกะเทาะเอาเมล็ดกาแฟออก วิธีนี้ให้เมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพไม่ดีนัก
เหมาะสำหรับกาแฟโรบัสต้า ซึ่งคุณภาพเมล็ดด้อยกว่าอยู่แล้ว
ผลกาแฟที่ตากแห้งนี้ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เพราะส่วนเนื้อของผลจะยังมีน้ำตาลและสารต่างๆ
ที่ทำให้เมล็ดกาแฟมีสีดำคล้ำ
และทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่ายจึงควรกะเทาะเปลือกออกทันทีที่แห้ง
2.1.1 การตากแดด ถ้ามีลานตากที่เป็นพื้นซีเมนต์ดีที่สุด ถ้าไม่มีหรือผลกาแฟมีจำนวนไม่มาก
พอลงทุนทำลานตาก อาจใช้เสื่อสาดหรือกระด้ง
หมั่นเกลี่ยผลกาแฟอย่างน้อยชั่วโมงละครั้ง ตอนเย็นให้โกยผลกาแฟรวมกันกองไว้ คลุมด้ายผ้าพลาสติก เพื่อกันน้ำค้างและฝน
ทำให้ความชื้นของผลกาแฟสม่ำเสมอ ตอนเช้าจึงเกลี่ยออกตากแดด ทำเช่นนี้จนกว่าผลกาแฟจะแห้งเต็มที่
โดยเมื่อเขย่าดูจะได้ยินเสียงเมล็ดกาแฟกระทบกับเปลือกดังกราวๆ ปกติจะใช้เวลาประมาณ
12 - 15 วัน ในช่วงที่แดดดี ผลกาแฟที่ตากแห้งวิธีนี้ควรเก็บเป็นช่วงห่างกัน
2 สัปดาห์ เพื่อไม่ให้กาแฟที่ตากแต่ละรุ่นปนกัน
เหมาะสำหรับแหล่งปลูกที่ขาดแคลนน้ำ
2.2 วิธีการทำสารกาแฟแบบหมัก
(wet process or wash method)
หรือแบบใช้น้ำ
วิธีนี้จะได้สารกาแฟที่มีคุณภาพดีกว่า การใช้วิธีตากแดดให้แห้งทั้งผล
ผลกาแฟที่เก็บเกี่ยวมาจากต้นควรทำการปอกเปลือกออกทันที ถ้าทำไม่ทันไม่ควรเก็บไว้นานกว่า
๓๖ ชั่วโมง การปอกเปลือกออกนี้ถ้ามีจำนวนน้อยอาจใช้มือบีบออกได้
แต่ถ้ามีจำนวนมากก็ใช้เครื่องปอกเปลือกกาแฟ โดยเทผลกาแฟลงไปในเครื่อง
เครื่องนี้จะทำการปอกเปลือกแยก เมล็ดกาแฟออกมาทางหนึ่ง และเนื้อของผลออกมา-ทางหนึ่ง เมล็ดกาแฟที่ได้นี้จะมีเมือกหุ้มเมล็ด มีลักษณะลื่นเหนียว
ซึ่งจะหายไปเมื่อตากแดดแห้ง แต่กลับลื่นเหนียวได้อีก เมื่อเปียกชื้น ดังนั้น
ถ้าจะต้องเก็บกาแฟกะลาไว้สักระยะหนึ่ง จำเป็นต้องขจัดเมือกที่หุ้มอยู่นี้ออก
แต่ถ้าจะทำการกะเทาะเปลือก เอาสารกาแฟทันทีภายหลังจาก เปลือกนอกของเมล็ดแห้ง
ซึ่งใช้เวลาตากแดดประมาณ 4 - 6 วัน
อาจไม่จำเป็นในการเอาเมือกนี้ออกให้หมดจดนัก
วิธีกำจัดเมือกหุ้มนี้ทำได้โดยวิธีขัดและล้างน้ำมากๆ ก็ได้
สำหรับเมล็ดกาแฟจำนวนน้อย เช่น เมล็ดพันธุ์
หรือถ้ามีจำนวนมากก็จะต้องมีน้ำสะอาดใช้เพียงพอ อาจ เอาใส่ในถังที่ระบายน้ำได้
ปล่อยให้น้ำไหลผ่านเมล็ดกาแฟที่ปอก เปลือกออก แล้วใช้ไม้กวนบ่อยๆ
ให้เมือกหุ้มเมล็ดหลุดออก หากมีน้ำสะอาดไม่มากเพียงพอควรใช้วิธีหมัก
2.2.1 วิธีหมัก ทำโดยนำเมล็ดกาแฟที่ได้หลังจากปอกเปลือกออกแล้ว
ใส่ในถัง ขนาดถังแล้วแต่ปริมาณเมล็ดกาแฟ ใส่เมล็ดกาแฟที่ได้นี้ลงในถังประมาณ 3/4
ของถัง
ใช้น้ำล้างแล้วเทน้ำทิ้ง หรือระบายออกทางข้างล่าง คลุมถังด้วยพลาสติก เอนไซม์
จะทำการย่อยเมือกหุ้มเมล็ดกาแฟออกภายในเวลา 6
- 82 ชั่วโมง
ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและลักษณะของเมล็ดกาแฟ
ระหว่างที่หมักนี้ไม่ควรแช่เมล็ดกาแฟใต้น้ำ
และไม่ควรให้นานเกินไปเพราะจะทำให้คุณภาพของกาแฟเสียไป เมล็ดกาแฟ ที่ผ่านการหมักอย่างถูกต้อง
เมือกที่หุ้มจะหลุดออกโดยง่าย นำเมล็ดกาแฟที่ผ่านการหมักนี้ไปล้างน้ำอีกครั้งถ้าใช้น้ำอุ่นขนาดมือจุ่มได้จะล้างเมือกออกได้ดีกว่าน้ำเย็น
การขจัดเมือกหุ้มเมล็ดทั้งวิธีล้างน้ำและวิธีหมักนี้
ลองเอามือถูบริเวณเปลือกกะลา เมล็ดจะรู้สึกสากๆ ก็เป็นอันใช้ได้
หลังจากนั้นนำไปตากแดด เช่นเดียวกับวิธีตากทั้งผล แต่ใช้เวลาน้อยกว่า คือ ประมาณ 4 - 6
วัน
จึงควรเก็บเกี่ยวแต่ละรุ่นห่างกัน
1 อาทิตย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น