วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

ประวัติกาแฟ


ประวัติของกาแฟ



กาแฟโดยแหล่งกำเนิดแล้ว เป็นพืชพื้นเมืองของอาบีซีเนีย (Abyssinia) และอาราเบีย (Arabia) ถูกค้นพบในศตวรรษที่ 6 ราวปี ค.ศ.575 ในประเทศอาระเบีย (Arabie) และในขณะเดียวกันบางท่านก็กล่าวว่ากาแฟเป็นพืชพื้นเมืองที่พบในเมืองคัฟฟา (Kaffa) ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเอธิโอเปีย กาแฟจึงได้ชื่อตามจังหวัดนี้และยังเรียกแตกต่างกันออกไปอีกมาก แหล่งกำเนิดเดิมของกาแฟมาจากประเทศอาบีซีเนีย หรือแถบประเทศแถบอาราเบียน หรือ ประเทศอาหรับตะวันออกกลาง สมัยนั้นไม่มีผู้ใดให้ความสนใจเท่าใดนัก จนกระทั่งล่วงเลยมาถึงศตวรรษที่ 9 มีการเลี้ยงแพะชาวอาราเบีย คนหนึ่งชื่อ คาลดี ให้แพะกินผลไม้ชนิดหนึ่งเข้าไปแล้ว แล้วเกิดอาการคึกคะนองผิดปกติ จึงได้นำเรื่องไปเล่าให้พระมุสลิมองค์หนึ่งฟัง พระองค์นั้นจึงนำผลของต้นไม้นั้นมากะเทาะเปลือกเอาเมล็ดไปคั่วแล้วต้มในน้ำร้อนดื่ม เห็นว่ามีความกระปรี้กระเปร่า จึงนำไปเล่าให้คนอื่นฟังต่อไป ชาวอาราเบียจึงได้เริ่มรู้จักต้นกาแฟมากขึ้น จึงทำให้กาแฟแพร่หลายเพิ่มขึ้นจากประเทศอาราเบีย เข้าสู่ประเทศอิตาลี เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส
ชาวอาราเบียเรียกพืชนี้ว่า คะวาฮ์ หรือ คะเวฮ์ ซึ่งแปลว่าพลังหรือความกระปรี้กระเปร่า ชาวตุรกีเรียกว่า คะเวฮ์  ต่อมาการเรียกชื่อกาแฟจึงเปลี่ยนแปลงไปตามแหล่งต่างๆของโลกเช่น คัฟฟี ในอังกฤษเรียกว่า คอฟฟี อันเป็นที่รู้จักและใช้ในปัจจุบัน เมื่อมาถึงประเทศไทย คนไทยเรียกว่า โกปี๊ ข้าวแฝ่ และกาแฟในที่สุด

ประวัติความมาของกาแฟในประเทศไทย
กาแฟไทยมีต้นกำเนิดจากที่คนไทยผู้ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามคนหนึ่งชื่อ นายดีหมุน มีโอกาสไปแสวงบุญที่บ้าน ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้นำเมล็ดกาแฟมาปลูกที่บ้านคือ ต.บ้านโหนด อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ในปี พ.ศ.2447 กาแฟที่นำมาปรากฏว่าเป็นพันธ์โรบัสต้าการปลูกได้ผลดีพอสมควร จึงได้มีการส่งเสริมการปลูกกาแฟโรบัสต้านี้ ออกไปอย่างกว้างขวางในภาคใต้ของประเทศไทย โดยส่งเสริมเป็นพืชปลูกสลับในสวนบางเป็นรายได้สำรองจากการกรีดยาง ต่อมาในปี พ.ศ.2516 โครงการปลูกพืชทดแทนและพัฒนาเศรษฐกิจชาวไทยภูเขา/สหประชาชาติ ได้เริ่มโครงการทดลองทำการเกษตรหลายชนิด โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการค้นหาพันธุ์พืชและสัตว์ มาทดแทนการปลูกและผลิตยาเสพย์ติดฝิ่นของชาวไทยภูเขา ต่อมาในปี พ.ศ.2520 ส่งเสริมการปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้า เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นความหวังในการทดแทนฝิ่นและยังทำรายได้แก่เกษตรกรชาวเขาเป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น