วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

ดื่มอย่างไรให้ได้ประโยชน์


ดื่มกาแฟอย่างไรให้ได้ประโยชน์


            ปัจจุบันการดื่มกาแฟเป็นที่นิยมการอย่างแพร่หลายตามสถานที่ต่างๆอย่างมากมาย จะเห็นได้ว่ากาแฟเป็นส่วนหนึ่งหรือบางคนอาจจะเป็นส่วนสองส่วนสามของชีวิตประจำวันแต่จะมีใครกังวลหรือไม่ว่าที่เราดื่มทุกวันวันละหลายแก้วแล้วมันมีโทษ หรือคุณประโยชน์อะไรบ้าง หากคุณเป็นคอกาแฟที่อยากดื่มกาแฟแล้วได้รับประโยชน์สูงสุดคุณควรจะอ่านบทความนี้
            ข้อดีของกาแฟ ที่ถ้าดื่มในปริมาณที่เหมาะสม หากจำกัดครีมเทียม นม และน้ำตาลอย่างเหมาะเจาะ ก็สร้างประโยชน์ดี ๆ ให้ร่างกาย ดังนี้
ผู้หญิงที่ดื่มกาแฟ 4 แก้วต่อวัน จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีลดลงประมาณ 25% เช่นเดียวกับผลการวิจัยก่อนหน้านี้ที่บอกว่า ผู้ชายที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้ด้วย
คนที่ดื่มกาแฟประมาณ 2-3 แก้วต่อวัน จะลดความเครียดได้ประมาณ 15 % แต่หากดื่มกาแฟ 4 แก้วต่อวัน จะสามารถลดความเครียดได้ถึง 20% เลยทีเดียวจ้า
หากดื่มกาแฟ 2 แก้วต่อวัน จะสามารถพัฒนาความจำ และปฏิกิริยาตอบโต้ได้ดีขึ้น สอดคล้องกับการวิจัยของอีกสถาบันหนึ่งที่บอกว่า ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป หากดื่มกาแฟมากกว่า 3 แก้วต่อวัน จะมีความจำที่ดีขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มกาแฟ หรือดื่มกาแฟน้อยกว่านี้
คนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำมีโอกาสรอดพ้นจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประมาณ 50% เนื่องจากคาเฟอีนมีคุณสมบัติช่วยยับยั้ง hIAPPและโพลีเปปไทด์ ตัวการก่อให้เกิดโปรตีนผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั่นเอง
-  การดื่มกาแฟวันละ 2-5 แก้วต่อวัน จะช่วยลดความเสี่ยงเกิดเซลล์มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งตับได้ด้วย โดยประสิทธิภาพของคาเฟอีน จะช่วยยับยั้งการเกิดเซลล์ผิดปกติ และกำจัดสารพิษที่ร่างกายได้รับได้ในระดับหนึ่ง
ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2-3 แก้วเป็นประจำทุกวัน จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคพาคินสันได้ถึง 25% เลยทีเดียว
ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แนะนำให้ดื่มกาแฟประมาณ 3-6 แก้วต่อวันอย่างต่อเนื่อง เพราะผลการวิจัยจากสถาบันสุขภาพแห่งหนึ่งยืนยันแล้วว่า คาเฟอีนมีส่วนช่วยบรรเทาการอักเสบของข้อ เนื่องมาจากกรดยูริกที่เกินขนาดอย่างได้ผล และคนที่ดื่มกาแฟ 6 แก้วต่อวัน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ได้ถึง 60%
จากที่กล่าวไว้เบื้องต้น จะเห็นได้ว่า ปริมาณของกาแฟที่ดื่มในแต่ละวันจะมีผลต่อร่างกายมากที่สุด ดังนั้นเราควรจะดื่มกาแฟในปริมาณที่เหมาะสมกับเพศและวัย เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการดื่มกาแฟอย่างสูงสุด

ประโยชน์จากกากกาแฟ


การใช้ประโยชน์จากกากกาแฟ


1. ขัดผิวคนสะอาดใส : นำกากกาแฟไปถูกับผิวกายในขณะอาบน้ำ กากกาแฟจะช่วยขจัดสารพิษให้กับผิวชั้นนอก และกระตุ้นการทำงานของเซลล์ผิวชั้นใน กระตุ้นการเผาพลาญไขมันใต้ชั้นผิว ทำเป็นประจำจะช่วยทำให้ผิวสวยใสเปล่งปลั่ง
2. สระผมเงางาม : ล้าง หรือสระผมด้วยกากกาแฟ หรือใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากกาแฟก็ได้ หรือนำกากกาแฟหมักไว้สัก 10 นาที หลังจากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด จะช่วยให้ผมสลวย เป็นเงางาม
3. กำจัดกลิ่นในรองเท้า : นำกากกาแฟใส่ถุงผ้าเล็ก ๆ ไปวางในรองเท้า เพื่อให้กากกาแฟดูดกลิ่น หรือถ้าต้องการกำจัดกลิ่นที่เท้าด้วยก็สามารถทำได้โดยใช้น้ำผสมกากกาแฟล้างเท้า หรือนำกากกาแฟมาขัดเท้าเหมือนการขัดผิวก็ได้
4. ป้องกันการขับถ่ายไม่เป็นที่ของสัตว์เลี้ยง : โรยกากกาแฟร่วมกับผิวส้มรอบ ๆ บริเวณที่ไม่อยากให้สัตว์เลี้ยงเข้าไปขับถ่าย กลิ่นของทั้ง 2 อย่างนี้เมื่อผสมกันแล้วจะส่งผลให้สัตว์เลี้ยงไม่อยากเข้าไปขับถ่าย
5. ป้องกันเข็มเย็บผ้าขึ้นสนิม : เหมาะสำหรับสาวๆ ที่รักการเย็บปักถักร้อย จะพบว่าเข็มที่ปักไว้กลับหมอนปักเข็มมักจะขึ้นสนิม ให้นำกากกาแฟที่เหลือจากการบดไปตากให้แห้งแล้วนำไปยัดไว้ในหมอนปักเข็ม จะช่วยป้องกันเข็มขึ้นสนิมได้
6. ไล่มดด้วยวิธีธรรมชาติ : นำกากกาแฟไปถูที่ตู้กับข้าว หรือบริเวณที่ไม่อยากให้มีมด กลิ่นและความขมของกาแฟ จะทำให้มดไม่เข้าใกล้ตู้หรือบริเวณนั้นเลยล่ะค่ะ เป็นการไล่มดด้วยวิธีธรรมชาติ ปลอดภัยไร้สารตกค้าง
7. ใช้เป็นปุ๋ยปลูกต้นไม้ : กากกาแฟใช้ทำปุ๋ยปลูกต้นไม้ได้เป็นอย่างดี เพราะมีไนโตรเจนสูง ซึ่งพืชต้องนำไปใช้ในการเจริญเติบโต และยังมีโพแทสเซียม ฟอสฟอรัสที่ช่วยเพิ่มพัฒนาการของพืชด้วยค่ะ นอกจากนี้ กากกาแฟมีสภาพเป็นกรดอ่อน ๆ สามารถนำมาปรับสภาพดิน ด้วยการโรยไปที่ผิวดินและพรวนที่ผิวหน้าดินเล็กน้อย เพื่อลดความเป็นด่างได้ 
8. กำจัดกลิ่นในตู้เย็น : นำกากกาแฟใส่ถ้วยวางไว้ในตู้เย็น กากกาแฟจะทำหน้าที่ดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ได้

โทษของกาแฟ


โทษของกาแฟ

1. คาเฟอีนมีคุณสมบัติคล้ายยาเสพติดอย่างอ่อน ผู้ที่ดื่มกาแฟจึงมักต้องดื่มเป็นประจำ หรือที่เรียกว่า ติดกาแฟจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผู้ดื่มกาแฟกันมาก และจากผลสำรวจพบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟในปริมาณ 235 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 10% จะรู้สึกมีความทุกข์มากขึ้นเมื่อร่างกายขาดคาเฟอีน
2. กาแฟกับการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด  มีคำแนะนำว่าผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟในปริมาณสูง เพราะจากการศึกษาพบว่า คาเฟอีน 250 มิลลิกรัม สามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
3. รับคาเฟอีนมากเกินไปไม่ดี หากร่างกายได้รับคาเฟอีนสูงกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวัน คาเฟอีนจะไปแทรกแซงการนอนหลับ ทำให้นอนหลับยาก หลับไม่สนิท ทำให้ช่วงเวลาที่หลับนั้นสั้นลง ซึ่งอาจทำให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เกิดอาการแทรกซ้อน คือ ผู้ทีดื่มกาแฟเป็นประจำ หากหยุดดื่มกะทันหันจะทำให้มีอาการปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ร่างกายอ่อนเพลีย และง่วงนอนได้
4. การดื่มกาแฟอาจทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติหรือเต้นไม่เป็นจังหวะได้ เนื่องจากคาเฟอีนในกาแฟมีฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง จึงส่งผลให้อัตราการบีบตัวของหัวใจและปริมาณของเลือดที่สูบฉีดต่อนาทีเพิ่มขึ้น
5. กาแฟมีฤทธิ์ลดการดูดซึมของธาตุเหล็กได้ คุณจึงควรระมัดระวังในการดื่มกาแฟในขณะท้องว่าง อีกทั้งการดื่มกาแฟในขณะท้องว่างคาเฟอีนยังไปเร่งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารอีกด้วย
6. กาแฟมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ โดยไปลดการดูดกลับของโซเดียม โพแทสเซียม และแคลเซียมออกจากไต จึงทำให้แร่ธาตุเหล่านี้ถูกขับออกมาพร้อมปัสสาวะ ถ้าหากร่างกายสูญเสียแคลเซียมออกจากร่างกายบ่อย ๆ ในปริมาณมาก อาจเป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือนได้
7. การดื่มกาแฟอาจส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์  ก่อนหน้าที่มีข้อถกเถียงกันว่าการดื่มกาแฟอาจส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ของสตรีได้ แต่จากหลักฐานยังไม่พบผลเสียดังกล่าว นักวิจัยจึงแนะนำว่าให้ดื่มกาแฟปริมาณน้อย ๆในขณะตั้งครรภ์จึงจะไม่เกิดผลเสีย

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของกาแฟ


ประโยชน์ของกาแฟ



1. สรรพคุณของกาแฟ
              1.1 ปริมาณคาเฟอีนในกาแฟที่เหมาะสม สามารถช่วยลดอาการหงุดหงิด อารมณ์ซึมเศร้า รวมถึงความเครียดได้ ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2-3 แก้ว จะสามารถช่วยลดความเครียดได้ประมาณ 15%
              1.2 ช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์  โดยมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเซาท์ ฟรอริด้า ที่เปิดเผยว่าผู้ที่มีอายุล่วงเข้าสู่วัยกลางคน ควรดื่มกาแฟวันละ 4-5 แก้ว เพื่อช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมน GCSF เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ 
              1.3 กาแฟมีนิโคติน แต่ไม่ใช่ชนิดเดียวกันกับที่พบได้ในบุหรี่ แต่เป็นวิตามินบีรวมชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ ซึ่งสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ การดื่มกาแฟจึงช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งตัว

2. ประโยชน์ที่ควรรู้
               2.1 ช่วยขับไล่ความแก่ชรา แม้ว่าร่างกายจะต้องการออกซิเจนมากก็จริง แต่ถ้ามีออกซิเจนมากเกินไปก็อาจทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งสูงและทำให้แก่ชราเร็ว โดยเฉพาะในกาแฟที่เข้มข้นจะทำให้ออกไซด์แตกตัวและลดการเกิดมะเร็งได้
               2.2 กระตุ้นให้สมองตื้นตัว ปริมาณที่เหมาะสมของคาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟสามารถช่วยกระตุ้นให้สมองเกิดการตื่นตัว ช่วยเร่งความเร็วในกระประมวลผลข้อมูลในสมอง จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานที่ต้องใช้สมาธิ ใช้เหตุผลและความจำ ส่วนกลิ่นหอมของกาแฟก็ช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้เร็ว มีสมาธิ และมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้นได้เช่นกัน
               2.3 สารช่วยป้องกันฟันผุ สารประกอบที่มีชื่อว่า Trigonelline เป็นสารที่ทำให้กาแฟมีกลิ่นหอมและมีรสขม สารชนิดนี้มีประสิทธิภาพช่วยป้องกันแบคทีเรียและการก่อตัวของแบคทีเรีย 
               2.4 ช่วยลดอาการเมื่อยล้าจากการออกกำลังกาย มีการสันนิษฐานกันว่าคาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งของสารสื่อประสาทเคทีโคลามีน ซึ่งจะไปกระตุ้นการสลายไขมันในเนื้อเยื่อให้เกิดเป็นหลังงาน คาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในรูปของไกลโคเจนจึงยังเป็นแหล่งพลังงานสำรองที่สะสมในกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายมีความทนทานต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้แรงได้มากขึ้น
               2.5 ช่วยป้องกันนิ่วและโรคถุงน้ำดีในผู้ชาย และช่วยลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานได้ทั้งสองเพศ โดยจะลดประมาณ 30% ในเพศหญิง แต่จะลดมากกว่า 50% ในเพศชาย เป็นต้น


ชนิดของกาแฟ


ชนิดของกาแฟ

1. กาแฟดำ 
ชงด้วยวิธีการหยดน้ำ อาจเป็นแบบให้น้ำซึมหรือแบบเฟรนช์เพรส เสิร์ฟโดยไม่ใส่นม อาจเติมน้ำตาลได้ ผู้คนมักเข้าใจผิดว่ากาแฟดำกับเอสเพรสโซเป็นอย่างเดียวกัน แต่ที่จริงแล้วกาแฟทั้งสองชนิดมีข้อแตกต่างกันหลายข้อ ข้อที่สำคัญคือ ถ้วยเสิร์ฟของเอสเพรสโซมีขนาดเล็กกว่า เพราะนิยมดื่มให้หมดในอึกเดียว


2.เอสเพรสโซ (espresso)

เป็นกาแฟที่มีรสแก่และเข้ม วิธีการชงแบบใช้แรงอัด ทำให้เอสเพรสโซมีรสชาติกาแฟซึ่งเข้มข้นและหนักแน่น ต่างจากกาแฟทั่วๆ ไปซึ่งชงแบบผ่านน้ำหยด และเพราะรสชาติเข้มข้นและหนักแน่นอันเป็นเอกลักษณ์นี้เอง ทำให้คอกาแฟที่ดื่มเอสเพรสโซจะไม่ปรุงกาแฟด้วยน้ำตาลหรือนม และมักจะเสิร์ฟเป็นชอต




3.คาปูชิโน (cappuccino)




มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอิตาลี คาปูชิโนมีส่วนประกอบหลักคือ เอสเพรสโซ และ นมสตีม (นมร้อนผ่านไอน้ำ) ที่ลอยอยู่ด้านบน นอกจากนั้นอาจโรยหน้าด้วยผงซินนามอน หรือผงโกโก้เล็กน้อยตามความชอบ





4. ลาเต้  (Latte)



เป็นภาษาอิตาลีแปลว่า นม ส่วนในประเทศอื่นจะหมายถึง กาแฟลาเต้ หรือเครื่องดื่มกาแฟที่เตรียมด้วยนมร้อน และจะหยอดโฟมนมหนาประมาณ 1 ซม. ทับข้างบน หรือแต่งผด้วยฟองนมเป็นรูปต่างๆ




5.มอคค่า (Mocha)

กาแฟมอคค่าเป็นกาแฟอราบิก้าชนิดหนึ่ง ซึ่งปลูกอยู่บริเวณท่าเรือมอคค่าในประเทศเยเมน กาแฟมอคค่ามีสีและกลิ่นคล้ายช็อคโกแลต อันเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้กาแฟมอคค่าเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย






6. อเมริกาโน

วิธีการชงโดยเติมน้ำร้อนผสมลงไปในเอสเพรสโซการเจือจางเอสเพรสโซซึ่งเป็นกาแฟเข้มข้นด้วยน้ำร้อน ทำให้อเมริกาโนมีความแก่พอ ๆ กับกาแฟธรรมดา แต่มีกลิ่นและรสชาติที่เข้มอันมาจากเอสเพรสโซอเมริกาโนเหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบกาแฟดำ แต่ไม่แก่

วิธีการผลิตเมล็ดกาแฟ


กรรมวิธีการผลิตเมล็ดกาแฟ

กาแฟเป็นไม้พุ่มยืนต้น ขนาดปานกลางสูง ประมาณ 3-4 เมตร ใบสีเขียวแตกออกจากข้อเป็นคู่ๆ ดอกออกตามข้อของกิ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ กลิ่นหอม ต้นกาแฟในประเทศไทยเริ่มออกดอกในเดือนตุลาคม กุมภาพันธ์ ระยะเวลาตั้งแต่การออกดอกถึงการเก็บเกี่ยวใช้เวลาประมาณ 8 - 12 เดือน หลังจากปลูกกาแฟได้ 2-3 ปี กาแฟจะเริ่มออกดอกและติดผล ผลของกาแฟเรียกว่า Coffee Cherry มีลักษณะค่อนข้างกลม ขณะที่ผลยังอ่อนมีสีเขียว และเมื่อผลแก่จัดจะมีสีแดงเรียกว่า เชอรี 



ผู้ผลิตจะเก็บผลเชอรี่ที่แก่จัดแล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการลอกเปลือก เพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟ ซึ่งมี 2 กรรมวิธี คือ
2.1 วิธีการทำสารกาแฟแบบแห้ง (dry processing) วิธีนี้นำผลกาแฟสุกที่เก็บมาทำการตากแดดทิ้งผลให้แห้งสนิท จึงทำการกะเทาะเอาเมล็ดกาแฟออก วิธีนี้ให้เมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพไม่ดีนัก เหมาะสำหรับกาแฟโรบัสต้า ซึ่งคุณภาพเมล็ดด้อยกว่าอยู่แล้ว ผลกาแฟที่ตากแห้งนี้ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เพราะส่วนเนื้อของผลจะยังมีน้ำตาลและสารต่างๆ ที่ทำให้เมล็ดกาแฟมีสีดำคล้ำ และทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่ายจึงควรกะเทาะเปลือกออกทันทีที่แห้ง
2.1.1 การตากแดด ถ้ามีลานตากที่เป็นพื้นซีเมนต์ดีที่สุด ถ้าไม่มีหรือผลกาแฟมีจำนวนไม่มาก พอลงทุนทำลานตาก อาจใช้เสื่อสาดหรือกระด้ง หมั่นเกลี่ยผลกาแฟอย่างน้อยชั่วโมงละครั้ง ตอนเย็นให้โกยผลกาแฟรวมกันกองไว้  คลุมด้ายผ้าพลาสติก เพื่อกันน้ำค้างและฝน ทำให้ความชื้นของผลกาแฟสม่ำเสมอ ตอนเช้าจึงเกลี่ยออกตากแดด ทำเช่นนี้จนกว่าผลกาแฟจะแห้งเต็มที่ โดยเมื่อเขย่าดูจะได้ยินเสียงเมล็ดกาแฟกระทบกับเปลือกดังกราวๆ ปกติจะใช้เวลาประมาณ 12 - 15 วัน ในช่วงที่แดดดี ผลกาแฟที่ตากแห้งวิธีนี้ควรเก็บเป็นช่วงห่างกัน 2 สัปดาห์ เพื่อไม่ให้กาแฟที่ตากแต่ละรุ่นปนกัน เหมาะสำหรับแหล่งปลูกที่ขาดแคลนน้ำ
2.2 วิธีการทำสารกาแฟแบบหมัก (wet process or wash method) หรือแบบใช้น้ำ วิธีนี้จะได้สารกาแฟที่มีคุณภาพดีกว่า การใช้วิธีตากแดดให้แห้งทั้งผล ผลกาแฟที่เก็บเกี่ยวมาจากต้นควรทำการปอกเปลือกออกทันที ถ้าทำไม่ทันไม่ควรเก็บไว้นานกว่า ๓๖ ชั่วโมง การปอกเปลือกออกนี้ถ้ามีจำนวนน้อยอาจใช้มือบีบออกได้ แต่ถ้ามีจำนวนมากก็ใช้เครื่องปอกเปลือกกาแฟ โดยเทผลกาแฟลงไปในเครื่อง เครื่องนี้จะทำการปอกเปลือกแยก เมล็ดกาแฟออกมาทางหนึ่ง และเนื้อของผลออกมา-ทางหนึ่ง เมล็ดกาแฟที่ได้นี้จะมีเมือกหุ้มเมล็ด มีลักษณะลื่นเหนียว ซึ่งจะหายไปเมื่อตากแดดแห้ง แต่กลับลื่นเหนียวได้อีก เมื่อเปียกชื้น ดังนั้น ถ้าจะต้องเก็บกาแฟกะลาไว้สักระยะหนึ่ง จำเป็นต้องขจัดเมือกที่หุ้มอยู่นี้ออก แต่ถ้าจะทำการกะเทาะเปลือก เอาสารกาแฟทันทีภายหลังจาก เปลือกนอกของเมล็ดแห้ง ซึ่งใช้เวลาตากแดดประมาณ 4 - 6 วัน อาจไม่จำเป็นในการเอาเมือกนี้ออกให้หมดจดนัก วิธีกำจัดเมือกหุ้มนี้ทำได้โดยวิธีขัดและล้างน้ำมากๆ ก็ได้ สำหรับเมล็ดกาแฟจำนวนน้อย เช่น เมล็ดพันธุ์ หรือถ้ามีจำนวนมากก็จะต้องมีน้ำสะอาดใช้เพียงพอ อาจ เอาใส่ในถังที่ระบายน้ำได้ ปล่อยให้น้ำไหลผ่านเมล็ดกาแฟที่ปอก เปลือกออก แล้วใช้ไม้กวนบ่อยๆ ให้เมือกหุ้มเมล็ดหลุดออก หากมีน้ำสะอาดไม่มากเพียงพอควรใช้วิธีหมัก
2.2.1 วิธีหมัก ทำโดยนำเมล็ดกาแฟที่ได้หลังจากปอกเปลือกออกแล้ว ใส่ในถัง ขนาดถังแล้วแต่ปริมาณเมล็ดกาแฟ ใส่เมล็ดกาแฟที่ได้นี้ลงในถังประมาณ 3/4 ของถัง ใช้น้ำล้างแล้วเทน้ำทิ้ง หรือระบายออกทางข้างล่าง คลุมถังด้วยพลาสติก เอนไซม์ จะทำการย่อยเมือกหุ้มเมล็ดกาแฟออกภายในเวลา 6 - 82 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและลักษณะของเมล็ดกาแฟ ระหว่างที่หมักนี้ไม่ควรแช่เมล็ดกาแฟใต้น้ำ และไม่ควรให้นานเกินไปเพราะจะทำให้คุณภาพของกาแฟเสียไป เมล็ดกาแฟ ที่ผ่านการหมักอย่างถูกต้อง เมือกที่หุ้มจะหลุดออกโดยง่าย นำเมล็ดกาแฟที่ผ่านการหมักนี้ไปล้างน้ำอีกครั้งถ้าใช้น้ำอุ่นขนาดมือจุ่มได้จะล้างเมือกออกได้ดีกว่าน้ำเย็น

 การขจัดเมือกหุ้มเมล็ดทั้งวิธีล้างน้ำและวิธีหมักนี้ ลองเอามือถูบริเวณเปลือกกะลา เมล็ดจะรู้สึกสากๆ ก็เป็นอันใช้ได้ หลังจากนั้นนำไปตากแดด เช่นเดียวกับวิธีตากทั้งผล แต่ใช้เวลาน้อยกว่า คือ ประมาณ 4 - 6 วัน จึงควรเก็บเกี่ยวแต่ละรุ่นห่างกัน 1 อาทิตย์

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

ประวัติกาแฟ


ประวัติของกาแฟ



กาแฟโดยแหล่งกำเนิดแล้ว เป็นพืชพื้นเมืองของอาบีซีเนีย (Abyssinia) และอาราเบีย (Arabia) ถูกค้นพบในศตวรรษที่ 6 ราวปี ค.ศ.575 ในประเทศอาระเบีย (Arabie) และในขณะเดียวกันบางท่านก็กล่าวว่ากาแฟเป็นพืชพื้นเมืองที่พบในเมืองคัฟฟา (Kaffa) ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเอธิโอเปีย กาแฟจึงได้ชื่อตามจังหวัดนี้และยังเรียกแตกต่างกันออกไปอีกมาก แหล่งกำเนิดเดิมของกาแฟมาจากประเทศอาบีซีเนีย หรือแถบประเทศแถบอาราเบียน หรือ ประเทศอาหรับตะวันออกกลาง สมัยนั้นไม่มีผู้ใดให้ความสนใจเท่าใดนัก จนกระทั่งล่วงเลยมาถึงศตวรรษที่ 9 มีการเลี้ยงแพะชาวอาราเบีย คนหนึ่งชื่อ คาลดี ให้แพะกินผลไม้ชนิดหนึ่งเข้าไปแล้ว แล้วเกิดอาการคึกคะนองผิดปกติ จึงได้นำเรื่องไปเล่าให้พระมุสลิมองค์หนึ่งฟัง พระองค์นั้นจึงนำผลของต้นไม้นั้นมากะเทาะเปลือกเอาเมล็ดไปคั่วแล้วต้มในน้ำร้อนดื่ม เห็นว่ามีความกระปรี้กระเปร่า จึงนำไปเล่าให้คนอื่นฟังต่อไป ชาวอาราเบียจึงได้เริ่มรู้จักต้นกาแฟมากขึ้น จึงทำให้กาแฟแพร่หลายเพิ่มขึ้นจากประเทศอาราเบีย เข้าสู่ประเทศอิตาลี เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส
ชาวอาราเบียเรียกพืชนี้ว่า คะวาฮ์ หรือ คะเวฮ์ ซึ่งแปลว่าพลังหรือความกระปรี้กระเปร่า ชาวตุรกีเรียกว่า คะเวฮ์  ต่อมาการเรียกชื่อกาแฟจึงเปลี่ยนแปลงไปตามแหล่งต่างๆของโลกเช่น คัฟฟี ในอังกฤษเรียกว่า คอฟฟี อันเป็นที่รู้จักและใช้ในปัจจุบัน เมื่อมาถึงประเทศไทย คนไทยเรียกว่า โกปี๊ ข้าวแฝ่ และกาแฟในที่สุด

ประวัติความมาของกาแฟในประเทศไทย
กาแฟไทยมีต้นกำเนิดจากที่คนไทยผู้ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามคนหนึ่งชื่อ นายดีหมุน มีโอกาสไปแสวงบุญที่บ้าน ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้นำเมล็ดกาแฟมาปลูกที่บ้านคือ ต.บ้านโหนด อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ในปี พ.ศ.2447 กาแฟที่นำมาปรากฏว่าเป็นพันธ์โรบัสต้าการปลูกได้ผลดีพอสมควร จึงได้มีการส่งเสริมการปลูกกาแฟโรบัสต้านี้ ออกไปอย่างกว้างขวางในภาคใต้ของประเทศไทย โดยส่งเสริมเป็นพืชปลูกสลับในสวนบางเป็นรายได้สำรองจากการกรีดยาง ต่อมาในปี พ.ศ.2516 โครงการปลูกพืชทดแทนและพัฒนาเศรษฐกิจชาวไทยภูเขา/สหประชาชาติ ได้เริ่มโครงการทดลองทำการเกษตรหลายชนิด โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการค้นหาพันธุ์พืชและสัตว์ มาทดแทนการปลูกและผลิตยาเสพย์ติดฝิ่นของชาวไทยภูเขา ต่อมาในปี พ.ศ.2520 ส่งเสริมการปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้า เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นความหวังในการทดแทนฝิ่นและยังทำรายได้แก่เกษตรกรชาวเขาเป็นอย่างดี